Blog
A Tale of Two Cities เรื่องราวของเมืองสองแบบที่เน้นการใช้รถ หรือเน้นการเดินเท้า
Urban Era ยุคของคนเมือง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์อยู่ในพื้นที่เมืองมากกว่าชนบทถึง 60-70% จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจกับเรื่องของเมือง ทั้งนี้หากแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทตามทิศทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน จะแบ่งได้เป็นเมืองระยะขับ และเมืองระยะเดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมืองระยะขับ city of greate distance
Levittown, USA
- เมืองที่ขยายตัวในแนวราบ (urban sprawl) : ความหนาแน่นของกิจกรรมต่ำ มีการประโยชน์ที่ดินแบบเดียว เดินไม่ได้ และต้องพึ่งพารถยนต์ในการเดินทาง ส่งผลต่อสถิติผู้ป่วยโรคอ้วน ปริมาณอุบัติเหตุทางถนน และระดับมลพิษทางอากาศและเสียงของเมือง
- เมืองที่ขยายตัวในแนวราบออกสู่พื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง ส่งผลต่อการสูญเสียศักยภาพในการผลิตอาหารมาเลี้ยงเมือง รวมทั้งพื้นที่ธรรมชาติเพื่อการนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองอีกด้วย
เมืองระยะเดิน
Docklands, Melbourne
ที่มาภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/File:Melbourne_docklands_urban_renewal.jpg#mediaviewer/File:Melbourne_docklands_urban_renewal.jpg
- เมืองที่ขยายตัวทางตั้งและมีลักษณะกระชับ (compact urban form) ใช้พื้นที่เมืองอย่างคุ้มค่า มีความหนาแน่นและการผสมผสานของการใช้ประโยชน์ที่ดินสูง มีระบบคมนาคมขนส่งและการบริการสาธารณะที่ทั่วถึง
- คนเมืองมีแนวโน้มจะเดินทางด้วยการเดินเท้า ขี่จักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะ สุขภาพแข็งแรง ลดการสร้างมลพิษ กระตุ้นให้เกิดเพิ่มมูลค่า กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับย่าน สงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติรอบเมือง
Urban Era ยุคของคนเมือง นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์อยู่ในพื้นที่เมืองมากกว่าชนบทถึง 60-70% จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจกับเรื่องของเมือง ทั้งนี้หากแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทตามทิศทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน จะแบ่งได้เป็นเมืองระยะขับ และเมืองระยะเดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมืองระยะขับ city of greate distance
Levittown, USA
- เมืองที่ขยายตัวในแนวราบ (urban sprawl) : ความหนาแน่นของกิจกรรมต่ำ มีการประโยชน์ที่ดินแบบเดียว เดินไม่ได้ และต้องพึ่งพารถยนต์ในการเดินทาง ส่งผลต่อสถิติผู้ป่วยโรคอ้วน ปริมาณอุบัติเหตุทางถนน และระดับมลพิษทางอากาศและเสียงของเมือง
- เมืองที่ขยายตัวในแนวราบออกสู่พื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง ส่งผลต่อการสูญเสียศักยภาพในการผลิตอาหารมาเลี้ยงเมือง รวมทั้งพื้นที่ธรรมชาติเพื่อการนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองอีกด้วย
เมืองระยะเดิน
Docklands, Melbourne
ที่มาภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/File:Melbourne_docklands_urban_renewal.jpg#mediaviewer/File:Melbourne_docklands_urban_renewal.jpg
- เมืองที่ขยายตัวทางตั้งและมีลักษณะกระชับ (compact urban form) ใช้พื้นที่เมืองอย่างคุ้มค่า มีความหนาแน่นและการผสมผสานของการใช้ประโยชน์ที่ดินสูง มีระบบคมนาคมขนส่งและการบริการสาธารณะที่ทั่วถึง
- คนเมืองมีแนวโน้มจะเดินทางด้วยการเดินเท้า ขี่จักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะ สุขภาพแข็งแรง ลดการสร้างมลพิษ กระตุ้นให้เกิดเพิ่มมูลค่า กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับย่าน สงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติรอบเมือง